การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563
การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563

ข้อเรียกร้องอื่น:ผู้ประท้วง:
(ไม่มีสายบังคับบัญชา)และอื่น ๆ สื่อที่สนับสนุนราชการ:ประชาชน:สื่อที่สนับสนุนการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เป็นการประท้วงที่กำลังดำเนินอยู่ต่อรัฐบาลนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แรกเริ่มเกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 การประท้วงเกิดขึ้นในพื้นที่สถานศึกษาทั้งหมด และหยุดไปช่วงหนึ่งเนื่องจากการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย และคำสั่งปิดสถานศึกษาการประท้วงกลับมาอุบัติขึ้นอีกครั้งในวันที่ 18 กรกฎาคมในรูปแบบการเดินขบวนซึ่งจัดระเบียบภายใต้กลุ่ม "เยาวชนปลดแอก" ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,500 คน นับเป็นการชุมนุมใหญ่สุดในรอบ 6 ปี มีการยื่นข้อเรียกร้อง 3 ประการต่อรัฐบาล ได้แก่ ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร หยุดคุกคามประชาชน และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การประท้วงในเดือนกรกฎาคมนั้นเกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด-19 และการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) โดยแฝงเจตนายับยั้งการชุมนุมทางการเมือง นับแต่นั้นทำให้ต่อมาการประท้วงได้ลามไปอย่างน้อย 44 จังหวัดทั่วประเทศ และมีการประท้วงแทบทุกวัน จนวันที่ 3 สิงหาคม กลุ่มผู้ประท้วงจัดปราศรัยเกี่ยวกับประเด็นพระราชอำนาจและเพิ่มข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ นำไปสู่การจับกุมตัวผู้ประท้วง 2 คน เหตุการณ์นี้ทำให้สื่อเรียกว่า "ขยายเพดาน"หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ประเด็นพระราชอำนาจดูเหมือนเข้ามารวมอยู่ในเป้าหมายการประท้วงด้วย กลุ่มประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลจัดการชุมนุมตอบโต้ โดยกล่าวหาผู้ประท้วงว่าถูกยุยงปลุกปั่นมีเจตนาแฝงล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนนักวิชาการจำนวนหนึ่งและพรรคก้าวไกลออกแถลงการณ์สนับสนุนสิทธิในการเรียกร้องของผู้ประท้วง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563

วิธีการ เดินขบวน แฟลชม็อบ รณรงค์ออนไลน์ เข้าชื่อ
สาเหตุ
บาดเจ็บ 0 คน
สถานะ กำลังดำเนินอยู่
  • หยุดไปช่วงหนึ่งเพราะโควิด-19 และคำสั่งห้ามชุมนุม
เป้าหมาย
  • ยุบสภาผู้แทนราษฎรและยกเลิกวุฒิสภา
  • หยุดคุกคามประชาชน
  • ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
  • ไม่ยอมรับรัฐบาลแห่งชาติและรัฐประหาร
  • แก้ไขพระราชอำนาจและกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

ข้อเรียกร้องอื่น:

  • กฎหมายสมรสเพศเดียวกัน
ถูกตั้งข้อหา 19 คน[lower-alpha 3]
สถานที่ อย่างน้อย 49 จังหวัดในประเทศไทย และมีการประท้วงในต่างประเทศส่วนหนึ่ง
วันที่
  • ระยะที่ 1: กุมภาพันธ์ 2563
  • ระยะที่ 2: ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2563
    (1 เดือน และ 6 วัน)
เสียชีวิต 0 คน
ถูกจับกุม 14 คน[lower-alpha 2]